วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

จังหวัดสุราษฎร์ธานี 




มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น ๆ ว่า "สุราษฎร์" ใช้อักษรย่อ "สฎ" เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศและมีประชากรหนาแน่นอันดับ 59 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีเก่าแก่ และยังมีแหล่งท่องเที่ยวและอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง
จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลายหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทย ทั้งบริเวณที่เป็นทะเลและเป็นเกาะ เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เกาะขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักเช่นเกาะสมุยเกาะพะงัน และหมู่เกาะอ่างทอง เนื่องจากทำเลที่ตั้งจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดบริเวณทะเลอันดามันบ้างเป็นครั้งคราวเนื่องจากจะมีแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช  แถบบริเวณจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแนวช่วยลดอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ในทางกลับกันพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเป็นหลัก โดยใช้พิ้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ ประมง อุตสาหกรรม รวมทั้งมีการทำเหมืองแร่ด้วย
ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานีสามารถใช้ได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ เครื่องบิน รถโดยสารประจำทาง เรือ และรถยนต์ส่วนบุคคล
สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุศรีสุราษฎร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรศรีวิชัย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติทั้งอุทยานแห่งชาติทางบก และอุทยานแห่งชาติทางทะเล น้ำตก เกาะ แม่น้ำ เขื่อน วัด และพระอารามหลวง เป็นต้นและยังเป็นแหล่งสืบสานประเพณีที่สำคัญของชาวใต้ คือประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีผลิตผล และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นที่รู้จัก เช่น ไข่เค็มไชยา หอยนางรม และเงาะโรงเรียน ดังที่ปรากฏในคำขวัญของจังหวัด

ประวัติศาสตร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้งของเมืองเก่า เป็นศูนย์กลางของเมืองศรีวิชัย มีหลักฐานแสดงถึงการตั้งรกรากและเส้นทางสายไหมในอดีต พื้นที่อ่าวบ้านดอนเจริญขึ้นจนเป็นอาณาจักรศรีวิชัยในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 13 โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นเครื่องยืนยันความรุ่งเรืองในอดีต ภายหลังยังเชื่อว่า เมื่ออาณาจักรตามพรลิงก์หรือเมืองนครศรีธรรมราชมีความรุ่งเรืองมากขึ้นนั้น เมืองไชยาก็เป็นหนึ่งในเมืองสิบสองนักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราชด้วย ชื่อว่า "เมืองบันไทยสมอ"นอกจากนี้ในยุคใกล้เคียงกันนั้นยังพบความเจริญของเมืองที่เกิดขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำตาปี ได้แก่ เมืองเวียงสระ เมืองคีรีรัฐนิคม และเมืองท่าทอง โดยเชื่อว่าเจ้าศรีธรรมาโศก ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชนั้นอพยพย้ายเมืองมาจากเมืองเวียงสระ เนื่องจากเป็นเมืองที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล รวมทั้งเกิดโรคภัยระบาดและเมื่อเมืองนครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรืองนั้น ได้ยกเมืองไชยา และเมืองท่าทอง เป็นเมืองสิบสองนักษัตรของตนด้วย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งอู่เรื่อพระที่นั่งและเรือรบเพื่อใช้ในราชการที่อ่าวบ้านดอน ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ย้ายที่ตั้งเมืองท่าทองมายังอ่าวบ้านดอน (ซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน) พร้อมทั้งยกฐานะให้เป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และพระราชทานชื่อว่า "เมืองกาญจนดิษฐ์" โดยแต่งตั้งให้พระยากาญจนดิษฐ์บดีเป็นเจ้าเมืองดูแลการปกครอง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองกาญจนดิษฐ์ เมืองคีรีรัฐนิคม และเมืองไชยาเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า "เมืองไชยา" ภายใต้สังกัดมณฑลชุมพร   เมื่อเมืองขยายใหญ่ขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนการปกครองและขยายเมืองออกไป มีการสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ อ่าวบ้านดอน ให้ชื่อเมืองใหม่ว่า อำเภอไชยา และให้ชื่อเมื่องเก่าว่า "อำเภอพุมเรียง" แต่เนื่องด้วยประชาชนยังติดเรียกชื่อเมืองเก่าว่า "อำเภอไชยา" ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามเมืองใหม่ที่บ้านดอนว่า "สุราษฎร์ธานี" และให้ชื่อเมืองเก่าว่า "อำเภอไชยา" และพระราชทานนามแม่น้ำตาปี ให้ในคราวเดียวกันนั้นเอง ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามแบบเมืองและแม่น้ำในประเทศอินเดียที่มีแม่น้ำตาปติไหลลงสู่ทะเลออกผ่านปากอ่าวที่เมือง สุรัฎร์

    สัญลักษณ์ประจำจังหวัดตราประจำจังหวัด คือ พระบรมธาตุไชยา ซึ่งมีศิลปะแบบศรีวิชัย ตั้งอยู่ ณ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร โดยสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 และเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ต้นไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ต้นเคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon)ตั้งอยู่อำเภอวิภาวดีดอกไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ดอกบัวผุด (Rafflesia kerrii) ตั้งอยู่อำเภอพนมคำขวัญประจำจังหวัด ได้แก่ เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะคำขวัญประจำจังหวัดในอดีต แต่งโดยพระเทพรัตนกวี (ก.ธรรมวร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี: "สะตอวัดประดู่ พลูคลองยัน ทุเรียนหวานมันคลองพระแสง ย่านดินแดงของป่า เคียนซาบ่อถ่านหิน พุนพินมีท่าข้ามแม่น้ำตาปี ไม้แก้วดีเขาประสงค์ กระแดะดงลางสาด สิ่งประหลาดอำเภอพนม เงาะอุดมบ้านส้อง จากและคลองในบาง ท่าฉางต้นตาล บ้านนาสารแร่ ท่าทองอุแทวัดเก่า อ่าวบ้านดอนปลา ไชยาข้าว มะพร้าวเกาะสมุย"ลักษณะรูปร่างของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลักษณะรูปร่างของจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับ "ผีเสื้อที่กำลังกางปีกโบยบินอยู่"เพลงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี รุ่งเรืองสมเมืองคนดี อีกธารตาปี นามพระธีรราชประทาน เป็นแดนอุดมไม้ปลา มะพร้าวมาเนิ่นนาน เหล่าราษฎร์สุขศานต์ มุ่งมั่นขยันทำกิน มิ่งขวัญ ชาวเมือง มีองค์พระธาตุพุทธศาสน์ประเทือง ถิ่นชนกตัญญูยิ่ง เมตตาอยู่อาจิณ ร่วมรักแผ่นดิน คนดี นี้ไชโยภูมิศาสตร์ที่ตั้งและอาณาเขตด้านตะวันออก ติดกับจังหวัดนครศรีธรรมราชและอ่าวไทยด้านตะวันตก ติดกับจังหวัดพังงา


    ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
     จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่กว้างใหญ่ และมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลาย ได้แก่ ภูมิประเทศแบบที่ราบชายฝั่งทะเล ที่ราบสูง รวมทั้งภูมิประเทศแบบภูเขาซึ่งกินพื้นที่ของจังหวัดถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยมีทิวเขาภูเก็ตทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ของจังหวัด และมีลุ่มน้ำที่สำคัญ คือ ลุ่มน้ำตาปี ไชยา ท่าทอง เป็นต้น


    หน่วยการปกครอง
    การปกครองส่วนภูมิภาค
    จังหวัดสุราษฎร์ธานีแบ่งการปกครองออกเป็น 19 อำเภอ 131 ตำบล 1,028 หมู่บ้าน มีรายชื่ออำเภอดังนี้

    1. อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
    2. อำเภอกาญจนดิษฐ์
    3. อำเภอดอนสัก
    4. อำเภอเกาะสมุย
    5. อำเภอเกาะพะงัน
    6. อำเภอไชยา
    7. อำเภอท่าชนะ
    8. อำเภอคีรีรัฐนิคม
    9. อำเภอบ้านตาขุน
    10. อำเภอพนม
    1. อำเภอท่าฉาง
    2. อำเภอบ้านนาสาร
    3. อำเภอบ้านนาเดิม
    4. อำเภอเคียนซา
    5. อำเภอเวียงสระ
    6. อำเภอพระแสง
    7. อำเภอพุนพิน
    8. อำเภอชัยบุรี
    9. อำเภอวิภาวดี

    แผนที่การแบ่งเขตการปกครอง
    เศรษฐกิจ
    การเกษตร
    อุตสาหกรรม
    นอกจากนั้น ยังมีการเลี้ยงปศุสัตว์และการทำประมง โดยปศุสัตว์ที่นิยมเลี้ยงกันมาก เช่น โค กระบือ สุกร ไก่ แพะ โดยปศุสัตว์ที่มีมูลค่าผลผลิตมากที่สุด คือ โค สุกร ไก่ กระบือ และเป็ดตามลำดับ ส่วนด้านการประมงนั้น มีทั้งการประมงน้ำเค็ม น้ำกร่อย การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และการประมงน้ำจืด 


    ประเพณีและวัฒนธรรม
    ประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า และแข่งขันเรือยาว
    ประเพณีชักพระทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวของจังหวัดสุราษฏร์ธานี ที่นี่มีอีกชื่อหนึ่งก็คืองานเดือนสิบเอ็ด ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับเทศกาลออกพรรษา กิจกรรมที่สำคัญได้แก่การประกวดเรือพระ ซึ่งจะมีทั้งรถพนมพระ และเรือพนมพระ ซึ่งรถและเรือพนมพระ อาจจะตกแต่งประดับประดาด้วยการแกะสลัก หรือฉลุไม้ ตกแต่งจำลอง เสมือนฉากที่พระพุทธเจ้ากลับมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึง ในงานพิธีจะใช้คนลาก เชื่อว่าผู้ที่ได้ร่วมลากจูงรถหรือเรือพนมพระจะได้อานิสสงค์หลายประการ


    งานวันเงาะโรงเรียน
    ผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ เงาะโรงเรียน เงาะมีความแตกต่างจากเงาะที่อื่น คือ หวาน และกรอบ ซึ่งนับเป็นความภูมิใจหนึ่งของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังนั้น เพื่อเป็นการแสดงถึงความภาคภูมิใจดังกล่าวจังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงจัดให้มีการนำผลผลิตจากเงาะโรงเรียนและผลผลิตอื่น ๆ มาจำหน่ายและตั้งชื่อว่า งานวันเงาะโรงเรียน โดยจะจัดขึ้นประมาณต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี


    การละเล่นพื้นบ้าน
    การละเล่นพื้นบ้านของจังหวัด อาทิเช่น
    การละเล่นเด็ก ได้แก่ จุ้มจี้ จี้จิบ ลูกหวือ ชักลูกยาง ทองสูง กบกับ หมากโตน บอกโผละ ลูกฉุด ทอยหลุม เหยก เตย และหมากขุม
    การละเล่นผู้ใหญ่ ได้แก่ เพลงชักพระอำเภอเกาะพะงัน เพลงบอก เพลงนา คำตัด ลิเกป่า มโนห์รา และหนังตะลุง


    อาหารพื้นบ้าน
    ได้แก่ ผัดไทยไชยาและผัดไทยท่าฉาง โดยมีความแตกต่างกับผัดไทยภาคกลาง ที่ใส่น้ำกระทิ มีรสเผ็ดเล็กน้อย อาจจะใส่ เต้าหู้ หรือกุ้งเป็นเครื่องเคียงด้วยก็ได้ทานพร้อมผัก ประเภทแกง แกงเหลือง แกงส้มอ้อดิบ ผัดสะตอใส่กะปิ แกงหมูกับลูกเหรียงเห็ดแครงปิ้งสาหร่ายข้อ แกงป่า ยำปลาเม็ง (เฉพาะที่อำเภอบ้านนาเดิมและอำเภอบ้านนาสาร) โล้งโต้ง (เฉพาะที่สุราษฎร์ธานี) ประเภทน้ำพริก น้ำพริกกะปิ น้ำพริกมุงมัง น้ำพริกตะลิงปิง น้ำพริกปลาทู ประเภทอาหารทะเล เนื่องจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นชื่อเรื่องหอยนางรมที่มีขนาดใหญ่และสดแล้ว ยังมีหอยหวาน ที่มีรสชาติดีเช่นกัน แล้วยังมีกุ้งแม่น้ำตาปีด้วย

    การคมนาคมระยะทางจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีไปยังจังหวัดใกล้เคียง โดยประมาณ คือ
    จังหวัดชุมพร 192 กิโลเมตร
    จังหวัดระนอง 219 กิโลเมตร
    จังหวัดนครศรีธรรมราช 139 กิโลเมตร
    จังหวัดพังงา 196 กิโลเมตร
    สถานีขนส่งหลักที่สำคัญ
    อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
    สถานีขนส่งสุราษฎร์ธานี
    ท่าเทียบเรือนอน ไปเกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า
    ท่าเทียบเรือนอนเฟอร์รี่ ไปเกาะเต่า
    อำเภอพุนพิน
    สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี
    ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี
    อำเภอเกาะสมุย
    ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย
    ท่าเทียบเรือราชาเฟอร์รี่ ตำบลตลิ่งงาม
    ท่าเทียบเรือซีทรานเฟอร์รี่ หน้าทอน
    ท่าเทียบเรือเกาะสมุย หน้าทอน
    ท่าเทียบเรือหน้าพระลาน แม่น้ำ
    ท่าเทียบเรือบางรัก
    อำเภอดอนสัก
    ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ดอนสัก (แหลมทวด)
    ท่าเทียบเรือราชาเฟอร์รี่
    ท่าเทียบเรือซีทรานเฟอร์รี่
    โครงการศึกษาความเป็นไปได้ และการสำรวจออกแบบเบื้องต้น ท่าอากาศยานนานาชาติดอนสัก
    อำเภอเกาะพะงัน
    ท่าเทียบเรือท้องศาลา
    ท่าเทียบเรือเกาะเต่า
    สถานที่สำคัญ
    พระอารามหลวง
    วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร อำเภอไชยา
    วัดธรรมบูชา อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
    วัดไตรธรรมาราม อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
    วัดพัฒนาราม อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
    สถานที่ท่องเที่ยว
    อำเภอกาญจนดิษฐ์
    วัดเขาพระนิ่ม
    สถานที่ฝึกลิง
    ฟาร์มหอยนางรม
    ต้นยางใหญ่
    วัดวังไทร
    อำเภอพุนพิน
    สหกรณ์สุราษฎร์ธานี
    วัดเขาศรีวิชัย
    สวนน้ำพุร้อนเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา (บ่อน้ำพุร้อนท่าสะท้อน)
    อำเภอเกาะสมุย
    เกาะแตน
    เกาะสมุย
    อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง
    อำเภอเกาะพะงัน
    หาดท้องนายปาน
    หาดริ้น
    Full Moon Party
    อำเภอวิภาวดี
    น้ำตกวิภาวดี
    อำเภอดอนสัก
    วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์
    น้ำตกบ้านใน
    อำเภอบ้านนาสาร
    ถ้ำขมิ้น
    น้ำตกดาดฟ้า
    น้ำตกเหมืองทวด
    อำเภอบ้านตาขุน
    เขื่อนรัชชประภา


    เหตุการณ์สำคัญ


    ศาลากลางจังหวัดสุราษฏร์ธานีถูกลอบวางระเบิด
    เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2525 ประมาณเที่ยงถึงบ่ายโมงเกิดเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนใจชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่สำคัญ คือ การระเบิดศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากเหตุการความขัดแย้งทางการเมือง ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานีเดิมตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตาปี ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง 
    อื่น ๆ
    เรือยาวใหญ่ นาม "เจ้าแม่ตาปี" และเรือยาวกลาง นาม "เจ้าแม่ธารทิพย์" ชนะเลิศการแข่งขันเรือยาวชิงแชมป์ประเทศไทยถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีเดียวกันพายุไต้ฝุ่นเกย์ถล่มจังหวัดการสร้างศาลหลักเมืองประจำจังหวัดเครื่องบินตกที่สนามบินสุราษฎร์การรื้อสัมปทานเรือข้ามฟากสุราษฏร์ธานีเกาะสมุยมติชาวสุราษฎร์ ห้ามปลุกเสกจตุคาม ณ วัดพระธาตุไชยา

    โดยทะเลฝั่งอ่าวไทยนั้นมีชายฝั่งยาวประมาณ 156 กิโลเมตร โดยมีเกาะที่อยู่ภายใต้เขตการปกครองของจังหวัดฯ ได้แก่ เกาะสมุย เกาะพะงัน และหมู่เกาะอ่างทองและยังมีเกาะน้อยใหญ่อีกมากมาย จึงได้ชื่อว่าเมืองร้อยเกาะ เช่นเกาะนางยวน
    ด้านตะวันออกเป็นฝั่งทะเลอ่าวไทย และมีเกาะน้อยใหญ่ที่มีประชากรอาศัย ส่วนด้านตะวันตกมีลักษณะเป็นภูเขาสูง มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำตาปี
    เนื่องจากทำเลที่ตั้งรวมถึงภูมิประเทศ จังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย ดังนั้น จึงทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนยาวนานมาก โดยกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมกราคม โดยจังหวัดสุราษฏร์ธานีมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 21.16 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34.51 องศาเซลเซียส  และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 129.59 มิลลิเมตร 

    ทางด้านอุตสาหกรรมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากผลผลิตทางเกษตรกรรม เช่น อุตสาหกรรมปลาป่น อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง น้ำมันปาล์มดิบ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ซึ่งในจังหวัดมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 730 โรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีมากที่สุด
    นอกจากนี้ ยังมีการให้สัมปทานเหมืองแร่ โดยแร่ที่สำคัญในจังหวัด ได้แก่ ยิบซั่ม โดโลไมต์ แอนไฮโครต์ หินปูน ดินขาว และบอลเคลย์
    สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่ได้รวมอยู่ในบริเวณศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ แต่จะตั้งอยู่บริเวณถนนตลาดใหม่ ระหว่างซอย 7 และซอย 9 ถัดไปจากที่ว่าการอำเภอเมืองฯ เพียงเล็กน้อย
    การจัดพุ่มผ้าป่าเป็นการจำลองพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าแสดงออกเป็นตอนๆ ด้วยการนำต้นไม้หรือกิ่งไม้ ประดับกับหลอดไฟสีต่างๆ บ้างก็จะจัดอุปกรณ์อื่นร่วมประกอบฉาก ทั้งการเขียนภาพ ปั้นรูปดินเหนียว อุปกรณ์ประกอบฉากจะไม่นิยมนำสิ่งมีชีวิตเช่นปลาสวยงาม เต่า หรือสัตว์เลี้ยงชนิดหนึ่งชนิดไดมาจัดประกอบฉาก เพราะเชื่อว่าเป็นการทรมานสัตว์ และจะไม่ได้รับอานิสสงค์ และตกแต่งด้วยเครื่อง อัฐบริขาร เพื่อในเช้าวันรุ่งของวันออกพรรษาจะได้นิมนต์พระมาทำพิธีทอดผ้าป่า การจัดพุ่มผ้าป่ามีทั้งหน่วยงานในจังหวัด ทังภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมกิจกรรม และมีการประกวดกันด้วยงานประเพณีนี้จัดขึ้นบริเวณเขื่อนลำนำตาปีตั้งแต่บริเวณศาลหลักเมืองจนกระทั่งถึงโรงแรมวังใต้ ขึ้นอยู่กับจังหวัดสุราษฎร์ธานีว่าในแต่ละปีจะเลือกเอาบริเวณใด
    ประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า และแข่งขันเรือยาว ซึ่งจัดได้ว่าเป็นงานใหญ่งานหนึ่งของภาคใต้